/
/
ขับรถนานปวดหลัง แก้ยังไงดี ? สาเหตุและวิธีบรรเทาที่ต้องรู้

ขับรถนานปวดหลัง แก้ยังไงดี ? สาเหตุและวิธีบรรเทาที่ต้องรู้

“ขับรถนานปวดหลัง” ปัญหาที่คนขับรถต้องเจอ ชวนมาเรียนรู้สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการป่วยจากการขับรถนาน ๆ เพื่อการเดินทางที่สบายและปลอดภัยยิ่งขึ้น

6 วิธีแก้ปวดหลังจากการขับรถนาน ป้องกันง่าย ๆ แต่ได้ผลจริง

ปัญหา “ขับรถนานปวดหลัง” เป็นเรื่องที่หลายคนอาจกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับรถเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระยะไกล ขับรถไปทำงาน หรือขับรถส่งของ ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความทรมานให้แก่ร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย

บทความนี้จะมาเจาะลึกถึงสาเหตุของอาการปวดหลังจากการขับรถนาน ๆ พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันและบรรเทา เพื่อให้คุณขับรถได้อย่างสบายและปลอดภัย

สาเหตุของอาการปวดหลังจากการขับรถ

อาการปวดหลังจากการขับรถเป็นระยะเวลานาน มีสาเหตุจากหลายปัจจัย ดังนี้

  • ท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกต้อง

 การนั่งหลังค่อม หรืองอตัวขณะขับรถมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังเกิดความตึงเครียด ส่งผลให้ปวดหลังได้

  • เบาะรถที่ไม่เหมาะสม

เบาะรถที่แข็งหรือนุ่มเกินไป หรือไม่สามารถรองรับสรีระร่างกายได้อย่างเหมาะสมเท่าไรนัก ทั้งยังจะทำให้เกิดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ ร่างกายจึงต้องปรับตัวตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานหนักและปวดเมื่อยได้ง่าย

  • การสั่นสะเทือน

 ขณะขับรถบนถนนขรุขระ กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังจะต้องรับแรงกระแทกจากแรงสั่นสะเทือนตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและเหนื่อยล้า นำไปสู่อาการปวดหลังในที่สุด

  • การยกของหนัก

การยกของหนักก่อนหรือหลังการขับรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยกของในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังได้

  • โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

 ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือโรคข้อเสื่อม มักมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อต้องนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานขณะขับรถ

ขับรถนานปวดหลัง แก้ยังไงดี ? แจกวิธีบรรเทาและป้องกันอาการที่ได้ผลจริง

เพื่อป้องกันอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการขับรถนาน ๆ เรามีวิธีบรรเทาและป้องกันสำหรับผู้ที่ต้องขับรถเป็นประจำมาฝาก ดังต่อไปนี้

  •  ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง

เริ่มต้นด้วยการจัดท่านั่งให้ถูกต้อง โดยควรนั่งตัวตรง พิงพนักเบาะพอดี ให้เข่าอยู่สูงกว่าสะโพกเล็กน้อย และวางเท้าทั้งสองข้างราบกับพื้นรถ ท่านั่งที่ถูกต้องนี้จะช่วยลดแรงกดทับที่กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ ทำให้ขับรถได้นานขึ้นโดยไม่รู้สึกปวดหลัง

  • เลือกเบาะรถที่เหมาะสม

นอกจากท่านั่งที่ถูกต้องแล้ว เบาะรถก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกเบาะที่นุ่มพอเหมาะ รองรับสรีระร่างกายได้ดี และปรับระดับได้ตามต้องการ โดยเฉพาะบริเวณเอวและหลังส่วนล่าง เนื่องจากเบาะที่ดีจะช่วยกระจายน้ำหนักและลดแรงกดทับ จึงช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • พักผ่อนเป็นระยะ

ระหว่างการเดินทางไกล อย่าลืมแวะพักเป็นระยะ โดยควรหยุดพักทุก 1-2 ชั่วโมงเพื่อยืดเส้นยืดสายและเดินออกกำลังกายเบา ๆ โดยการพักสั้น ๆ นี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ลดการสะสมของกรดแล็กติก (Lactic) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อย ทำให้รู้สึกสดชื่นและพร้อมสำหรับการเดินทางต่อ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนเดินทางไกลก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัว ทำให้หลังแข็งแรงและทนทานต่อการนั่งนานได้ นอกจากนี้ กิจกรรมอย่างโยคะ พิลาทิส หรือว่ายน้ำ ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายรับมือกับการขับรถเป็นเวลานานได้ดียิ่งขึ้นด้วย

  • ใช้หมอนรองหลัง

อีกหนึ่งตัวช่วยที่ไม่ควรมองข้ามคือหมอนรองหลังที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการขับรถ หมอนเหล่านี้จะช่วยรองรับส่วนโค้งของกระดูกสันหลัง รักษาท่านั่งที่ถูกต้อง และลดแรงกดทับ ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้

  • นวดบ่าหลังไหล่เพื่อยืดเส้นก่อนและหลังขับรถ

สุดท้าย ผู้ขับขี่ระยะไกลควรดูแลกล้ามเนื้อก่อนออกเดินทางด้วย เริ่มจากนวดบริเวณบ่า หลัง และไหล่เบา ๆ แล้วยืดเส้นยืดสายทั่วร่างกาย วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและเตรียมร่างกายสำหรับการนั่งนาน และเมื่อถึงจุดหมาย ควรนวดซ้ำโดยเน้นจุดที่ตึงหรือล้า เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและลดความเมื่อยล้า การทำเช่นนี้เป็นประจำจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง ทำให้ขับรถนาน ๆ ได้อย่างสบายและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ผู้หญิงนวดบ่าหลังไหล่เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการขับรถนาน ๆ

การแก้ปัญหา “ขับรถนานปวดหลัง” ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ใส่ใจในท่าทางการนั่ง เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม และดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ คุณก็จะสามารถขับรถได้อย่างสบายและปลอดภัย อย่างไรก็ดี หากมีอาการปวดหลังที่รุนแรงหรือเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังจากการขับรถนาน ๆ หรือต้องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการเดินทาง Let’s Relax ร้านนวดเชียงใหม่ที่ขยายสาขาไปทั่วประเทศ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดจากประสบการณ์กว่า 21 ปี เราพร้อมมอบประสบการณ์การผ่อนคลายระดับพรีเมียมให้แก่ทุกคน สนใจนัดหมายผ่านทางออนไลน์ได้ทั้งช่องทางเว็บไซต์ ที่ลิงก์  https://booking.letsrelaxspa.com/book และ LINE Official https://lin.ee/QxwQOB1 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. How Do You Relieve Pain from Driving?. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567. จาก https://www.motus.com/blog/how-do-you-relieve-pain-from-driving/.
  2. 12 Tips to Relieve Back Pain When Driving. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567. จาก https://www.healthline.com/health/back-pain/lower-back-pain-when-driving.

Related

เช็กด่วน ! 10 สัญญาณที่บอกว่าคุณอาจมีอาการเครียดโดยไม่รู้ตัว ในยุคที่ทุกอย่างเร่งรีบและเต็มไปด้วยความกดดัน ส่งผลให้คนทำงานหลายคนต้องเผชิญกับภาวะเครียด ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอย่างไม่รู้ตัว บทความนี้จะขอพาไปเช็ก 10 สัญญาณเตือนของ “อาการเครียด” พร้อมแนะนำแนวทางแก้ไข เพื่อให้รู้เท่าทันและรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ทำความรู้จักอาการเครียด

อาการเครียดเป็นสภาวะทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับความกดดัน ความวิตกกังวล หรือปัญหาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แม้ว่าความเครียดในระดับพอดีอาจช่วยกระตุ้นให้เราทำงานได้ดีขึ้น แต่หากมีมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจอย่างรุนแรงได้เช่นกัน

10 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการเครียด

เพื่อให้คุณสังเกตและรับมือได้อย่างทันท่วงที เรามี 10 ข้อสังเกตในการเช็กอาการโรคเครียดมาฝาก ดังนี้

1. รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา

แม้จะนอนหลับอย่างเต็มอิ่ม แต่ร่างกายยังคงไร้เรี่ยวแรง อาจเป็นสัญญาณเตือนแรกที่ควรให้ความสำคัญ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความเครียดที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้พลังงานในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รู้สึกอ่อนล้าแม้ในยามที่เพิ่งตื่นนอนก็ตาม

2. นอนหลับไม่สนิท

ภาวะการนอนไม่หลับ นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง อาจเกิดจากความเครียดสะสม ยิ่งถ้าหากนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้

3. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง

ไม่เพียงแต่การนอนเท่านั้น ความเครียดยังส่งผลต่อความอยากอาหารอีกด้วย โดยอาจแสดงออกได้สองทาง คือ ทำให้เบื่ออาหารจนไม่อยากรับประทาน หรือในทางตรงกันข้าม อาจทำให้รับประทานมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอาหารประเภทของหวานหรือขนมขบเคี้ยว ทั้งนี้ บางคนอาจใช้การรับประทานเป็นวิธีระบายความเครียดโดยไม่รู้ตัว

4. อารมณ์แปรปรวนง่าย

เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้น อารมณ์ก็มักจะแปรปรวนตามไปด้วย โดยจะสังเกตได้ว่า อาจโกรธง่าย และใจร้อนกว่าปกติ แม้แต่สิ่งเล็กน้อยที่เคยไม่รู้สึกอะไรก็อาจกลายเป็นชนวนให้เกิดความหงุดหงิดได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากความเครียดทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ยากขึ้น

5. วิตกกังวลเกินเหตุ

ความกังวลที่มากเกินไปก็สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยความกังวลนี้อาจทำให้รู้สึกเหมือนกำลังเผชิญกับภัยคุกคามตลอดเวลา แม้ในสถานการณ์ปกติก็ตาม ส่งผลให้จิตใจไม่สงบและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมา

6. ขาดสมาธิ

เมื่อเครียดสะสม การจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานจะทำได้ยากขึ้น ความคิดมักจะว่อกแว่กได้ง่าย ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

7. ปวดศีรษะบ่อย

อาการทางร่างกายที่พบได้บ่อยในคนที่มีภาวะเครียดคือ ปวดศีรษะ โดยมักจะปวดบ่อยครั้งและรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณขมับหรือท้ายทอย ทั้งนี้เป็นผลมาจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากความเครียดสะสม ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้

8. กล้ามเนื้อตึงเครียด

นอกเหนือจากปวดศีรษะแล้ว ความเครียดยังส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ตึงเครียดไปด้วย โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า และไหล่ เนื่องจากความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวโดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรังและเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

9. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

ความเครียดไม่เพียงส่งผลต่อจิตใจและกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้เจ็บป่วยง่าย เป็นหวัดบ่อย หรือมีไข้ขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะร่างกายอ่อนแอลงและไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม

10. แยกตัวจากสังคม

ท้ายที่สุด ความเครียดอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคม โดยคุณอาจรู้สึกอยากอยู่คนเดียวมากขึ้น ไม่อยากเข้าสังคม และแยกตัวจากเพื่อนฝูงและครอบครัว อย่างไรก็ดี การแยกตัวเช่นนี้อาจยิ่งทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต

วิธีคลายเครียดที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายได้จริง

เมื่อสังเกตเห็นว่าตัวเองมีอาการเครียด สิ่งสำคัญคือต้องหาวิธีรับมืออย่างถูกวิธี ซึ่งเรามีกิจกรรมช่วยให้ผ่อนคลายมาแนะนำ ดังนี้

1. ออกกำลังกายเบา ๆ

เริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินเล็กน้อย หรือยืดเส้นยืดสาย โดยการออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียด พร้อมกับกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

2. ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ

หลังจากขยับร่างกายแล้ว ลองหันมาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรก เนื่องจากการโฟกัสกับสิ่งที่ชอบจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและลืมความกังวลได้ชั่วขณะ

3. อาบน้ำอุ่น

เมื่อรู้สึกเครียด การอาบน้ำอุ่นเป็นอีกวิธีที่ช่วยได้ดี โดยสัมผัสของน้ำอุ่นจะช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย และยังช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้นอีกด้วย

4. สัมผัสธรรมชาติ

หากมีโอกาส ลองออกไปสัมผัสธรรมชาติดูบ้าง เนื่องจากการใช้เวลาท่ามกลางธรรมชาติ เช่น เดินเล่นในสวน หรือนั่งชมวิวริมทะเล จะช่วยลดความเครียดและฟื้นฟูจิตใจได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนั้น บรรยากาศที่สงบและสดชื่นยังจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและมีมุมมองที่สดใสขึ้น

5. พูดคุยกับคนสนิท

บางครั้ง การเก็บความเครียดไว้คนเดียวอาจทำให้รู้สึกหนักอึ้ง ดังนั้น การได้พูดคุยและระบายความรู้สึกกับคนที่ไว้ใจ จะช่วยให้รู้สึกเบาใจและมองเห็นทางออกของปัญหาได้มากกว่า อีกทั้งยังอาจได้รับกำลังใจและมุมมองใหม่ ๆ อีกด้วย

6. ฝึกเทคนิคการหายใจ

บางครั้ง การเก็บความเครียดไว้คนเดียวอาจทำให้รู้สึกหนักอึ้ง ดังนั้น การได้พูดคุยและระบายความรู้สึกกับคนที่ไว้ใจ จะช่วยให้รู้สึกเบาใจและมองเห็นทางออกของปัญหาได้มากกว่า อีกทั้งยังอาจได้รับกำลังใจและมุมมองใหม่ ๆ อีกด้วย

7. นวดผ่อนคลาย

หากมีโอกาส ลองไปรับบริการนวดผ่อนคลายจากผู้เชี่ยวชาญดูบ้าง เนื่องจากการนวดไม่เพียงช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียดจากการทำงาน แต่ยังเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ช่วยลดความเครียดได้ดีแน่นอน นวดผ่อนคลายความเครียด การรู้เท่าทันสัญญาณเตือนของความเครียดและรู้วิธีจัดการที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้ดีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี อย่าลืมว่า การดูแลสุขภาพกายและใจเป็นสิ่งสำคัญ หากรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยตนเอง อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับการรักษาและจัดการปัญหาได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับคนที่ต้องการนวดผ่อนคลายความเครียด นวดไทยรีดเส้น หรือต้องการนวดในแบบอื่น ๆ สามารถใช้บริการได้ที่ Let’s Relax ร้านนวดเชียงใหม่ที่ขยายสาขาไปทั่วประเทศ ด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดจากประสบการณ์กว่า 21 ปี เราพร้อมมอบประสบการณ์การผ่อนคลายระดับพรีเมียมให้แก่ทุกคน สนใจนัดหมายผ่านทางออนไลน์ได้ทั้งช่องทางเว็บไซต์ ที่ลิงก์  https://booking.letsrelaxspa.com/book และ LINE Official https://lin.ee/QxwQOB1 ข้อมูลอ้างอิง
  1. Signs and symptoms of stress. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567. จาก https://www.mind.org.uk/information-support/types-of-mental-health-problems/stress/signs-and-symptoms-of-stress/.
  2. Stress Symptoms, Signs, and Causes. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567. จาก https://www.helpguide.org/mental-health/stress/stress-symptoms-signs-and-causes.